|
|
สาระสำคัญ
- แจ้งสถานที่ประดาน้ำให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบล่วงหน้าก่อนการทำงานไม่น้อยกว่า ๗ วันตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด
- ต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำได้รับการตรวจสุขภาพตามกำหนดระยะเวลาและจัดทำบัตรตรวจสุขภาพลูกจ้างไว้ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด
- ลูกจ้างซึ่งจะให้ทำงานประดาน้ำต้อง
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์
(๒) มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๓) มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในงานประดาน้ำโดยต้องผ่านการทดสอบตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด
- หัวหน้านักประดาน้ำพี่เลี้ยงนักประดาน้ำ นักประดาน้ำ นักประดาน้ำพร้อมดำ ผู้ควบคุมระบบการจ่ายอากาศและติดต่อสื่อสาร ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎกระทรวงนี้
- ในการทำงานประดาน้ำนายจ้างต้องควบคุมให้ลูกจ้างปฏิบัติตามตารางมาตรฐานการดำน้ำและการลดความกดดัน ตลอดจนการพักเพื่อปรับสภาพร่างกายก่อนที่จะดำลงในครั้งต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด
- ต้องจัดให้มีลูกจ้าง พยาบาลเวชศาสตร์ใต้น้ำ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานประดาน้ำตามที่กำหนดในตารางท้ายกฎกระทรวงนี้
- ต้องจัดให้มีบริการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และออกซิเจนหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ พร้อมหน้ากากช่วยหายใจเพื่อช่วยเหลือนักประดาน้ำตลอดระยะเวลาที่มีการดำน้ำ
- ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำอาจปฏิเสธการดำน้ำในคราวใดก็ได้หากเห็นว่าการดำน้ำคราวนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของตน
- นายจ้างและหัวหน้านักประดาน้ำต้องสั่งให้ลูกจ้างหยุดหรือเลิกการดำน้ำในกรณีต่อไปนี้
(๑) เมื่อพี่เลี้ยงนักประดาน้ำและนักประดำน้ำไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
(๒) เมื่อนักประดาน้ำต้องใช้อากาศสำรองจากขวดอากาศ หรือขวดอากาศสำรอง
(๓) เมื่อนายจ้างหรือหัวหน้านักประดาน้ำพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำน้ำในพื้นที่บริเวณนั้นไม่ปลอดภัย
- จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการทำงานประดาน้ำดังที่กฎกระทรวงกำหนด
- บำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานประดาน้ำตามที่กำหนดในคู่มือของผู้ผลิตอุปกรณ์แต่ละชนิด
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 08 9152 2626 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |