|
|
สาระสำคัญ
กรณีที่ได้รับยกเว้นได้แก่
1) วัตถุอันตรายที่มีกฎหมายใดควบคุมในเรื่องใดหรือส่วนใดอยู่แล้ว
2) ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายเพื่อการค้าปลีก ที่เก็บวัตถุอันตรายชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกันไว้ไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 หรือไม่ต้องขออนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3
3) ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายเพื่อการใช้สอยส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม หรือที่เป็นสิ่งประกอบภายในเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีกฎหมายควบคุมการผลิต การนำเข้า หรือการขนส่ง ฉุกเฉินเพื่อป้องกัน บรรเทา หรือระงับอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือสิ่งแวดล้อม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือไม่ต้องขอ อนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3
4) การมีไว้ในครอบครองและการนำเข้าซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้ในกิจการของตนเองของหน่วยงานดังต่อไปนี้
(1) กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐ หน่วยงานของรัฐ สภากาชาดไทย
(2) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
(3) องค์การระหว่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติ และทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย
ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 08 9152 2626 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |