|
|
สืบเนื่องจากการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม” เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ในงานสัปดาห์ความปลอดภัย Chula Safety 2021 วิถีชีวิตใหม่สู่ความปลอดภัยอย่างยั่งยืน : New Normal Lifestyle for Sustainable Safety ได้รับเกียรติจาก ดร.เอกราช สมบัติสวัสดิ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรในหัวข้อ “การประเมินสถานีงานและท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์” ซึ่งเป็นการบรรยายในช่วงแรกของการอบรม
การยศาสตร์ (Ergonomics) คืออะไร
ศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถนำไปประยุกต์ หรือปรับปรุงสภาพงานให้เหมาะสม ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น1, 2, 3
ตัวอย่างการยศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้การยศาสตร์
การเจ็บป่วยจากการทำงานในสำนักงาน
การเจ็บป่วยจากการทำงาน ได้แก่ ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า และข้อเท้า ซึ่งมีแนวโน้มของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal Disorders; MSDs) ที่มีสาเหตุมาจากการทำงานในท่าทางซ้ำ ๆ การใช้แรงมากเกินไป หรือการเสียดสีจากการสั่นสะเทือน พบว่าผู้ที่ทำงานในสำนักงานมีอาการผิดปกติของโรค MSDs มากกว่าประชากรวัยทำงานทั่วไป4 ดังนั้น การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันการเจ็บป่วยจากการทำงานในสำนักงานได้
การประเมินสถานีงานและท่าทางการทำงาน
เป็นการค้นหาปัจจัยเสี่ยงของสถานีงาน (อุปกรณ์/เครื่องมือ) ผู้ปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อทำการประเมินความเสี่ยง โดยการจำแนกความเสี่ยง จัดลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การออกแบบและปรับปรุงสภาพการทำงานให้ถูกหลักการยศาสตร์
ท่าทางในอุดมคติ จุดอ้างอิงควรอยู่ในระดับตรงกันในท่ายืน และข้อแขน หัวเข่า สะโพก ควรอยู่ในมุม 90 องศาในท่านั่ง
ภาพที่ 1 ท่าทางในอุดมคติในการทำงานกับคอมพิวเตอร์
(ภาพจาก Ergonomics for Beginners A quick reference guide (p. 12), by Dul and Weerdmeester, (2001), Taylor & Francis Inc.)
ลักษณะสถานีงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม1
องค์ประกอบของสถานีงานคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย เก้าอี้ โต๊ะ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมทั้ง อุปกรณ์เสริมในการทำงานต่าง ๆ
การจัดสถานีงานคอมพิวเตอร์
ภาพที่ 2 ท่านั่งปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะตามหลักการยศาสตร์
สถานีงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ควรมีลักษณะ ดังนี้5
สภาพแวดล้อมในสำนักงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้5
ภาพที่ 3 สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์
เอกสารอ้างอิง
![]() |
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โทร.: 0 2218 5222, 09 9132 6622 (ในวันและเวลาราชการ) 08 9152 2626 (เฉพาะกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง) | |
อีเมล: shecu@chula.ac.th |